หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

นิทานชีวิต ตอนกำเนิดชีวิต

วันศุกร์ ที่11 ตุลาคม 2556


นิทานชีวิต ตอนกำเนิดชีวิต












คัดลอกจาก http://youtu.be/QxrCci3-0tg
                    http://youtu.be/MH8DgJ6JsYc
                    http://youtu.be/NSV8s1MwjcM

วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เทคนิคการเรียนดี

วันศุกร์ ที่ 11 ตุลาคม 2556

เทคนิคการเรียนดี

1. อ่านหนังสือตอนเช้าๆ จะช่วยในการจดจำได้เยอะจร้า เพราะว่าตอนเช้าสมองของเราปลอดโปร่ง ถ้าเทียบกับตอนเย็น หรือตอนดึกๆ เนื่องจากสมองของเราผ่านอะไรมามากมายแล้ว สู้รบปรบมือกันมาทั้งวัน
2. รู้มั้ยว่า การยืนอ่านหนังสือ ช่วยในการจดจำมากกว่า การนั่งอ่านหนังสืออีกนะจะบอกให้แล้วอีกอย่างช่วยกันการหลับคาหนังสืออีกด้วย 

3. การจดโน๊ต ให้ดูสะอาดตาสวยงาม จะเป็นสิ่งดีมากๆ เนื่องจากลายมือที่สวยและเป็นระเบียบ จะช่วยในการจดจำได้เป็นอย่างดีเลยหล่ะ ถ้าบอกแบบนี้ เราควรใช้กระดาษสีขาว และปากกาหมึกสีดำ ช่วยให้อักษรมีความชัดเจน และมีพลังเยี่ยมยอดเมื่อบวกกับสีขาวในกระดาษที่เป็นช่องว่างอยู่ การเรียบเรียงตัวอักษร เราควรที่จะจดแบบให้มีการเคลื่อนไหว แทนที่จะจดแบบ
แนวนอน เรียงยาวแบบธรรมดาๆ ก็คือการจดแบบเป็นกลอน แทนที่จะจดให้มันเป็นพรืดยาว จนเอียน การจดแบบนี้ ทำให้เมื่อยสายตา เพราะเราต้องใช้สายตากวาดทอดยาวไป ทำให้เมื่อยล้าสายตาอย่างยิ่ง ทำให้เลิกอ่านกันไปดื้อๆแต่การที่เราจดแบบกลอน มันช่วยให้สายตาของเราไม่ล้า ทำให้เราอ่านหนังสือได้มากขึ้น และจำได้รวดเร็วกว่าเดิม ไม่ต้องมาอ่านซ้ำหลายๆ รอบเหมือนแต่ก่อน


4. การจดอีกแบบนึง ก็คือ การจดแบบ mind mapping การจดแบบนี้ หลายๆ คนคงจะคุ้นเคยกันดี คือ การ มีคีย์เวิร์ดชื่อเรื่องไว้ตรงกลาง แล้วแตกสาขากิ่งก้านหัวข้อย่อยๆ ออกมา ขอย้ำนิดนึงว่า ควรจะใช้คำสั้นๆ ที่สำคัญๆ เพื่อง่ายต่อการจดจำ และไม่น่าเบื่อ

5. การเรียนแบบจับคู่ ควรที่จะมีคู่หู 1 คนในการเรียนเพื่อแชร์ความรู้ที่แต่ละคนได้มา และโต้เถียงความรู้กันอยู่บ่อยๆ ซึ่งวิธีนี้ก็ได้ผลดีเช่นกัน ทำให้การเรียนมีสีสัน และเกิดความตื่นตัวอีกด้วย 

6. การอ่านหนังสือเสียงดัง หรือโยกตัว โยกขา การอ่านแบบมีจังหวะจะโคน ช่วยในการจดจำด้วย เพราะว่าเราได้ใช้ประสาทสัมผัสส่วนต่างๆ

7. อ่าน 1 ชั่วโมงที่รู้สึกว่าตั้งใจ มีความสุข หรือมีพลังในการอ่าน การเรียนรู้ ดีกว่าอ่าน 5 ชั่วโมงที่อ่อนล้าซะอีก แทนที่จะความรู้ แต่กลับไม่ได้อะไรเลย

8. เวลาที่คนเรามีความสุข คลื่นสมองของเราจะเรียนรู้ได้เร็ว และดีกว่าตอนที่เครียด


9. ควรที่จะหมั่นทบทวนในสิ่งต่างๆ บ่อยๆ เพราะการย้ำคิดย้ำทำ หรือการทำซ้ำนั้น ช่วยเราได้มากเลย





ข้อมูลคักลอกมาจาก  http://blog.eduzones.com/chanthaburi/39794

เพลงรางวัลของครู ปี2556


วันศุกร์ ที่ 11 ตุลาคม 2556


MV ใหม่ เพลงรางวัลของครู 


เนื่องในโอกาสวันครู ประจำปี 2556





             ในอนาคตฉันและเพื่อนๆในสาขาวิชาการประถมศึกษา รหัสปี 55 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี อาจจะได้ไปเป็นครูในสถานที่ใดที่หนึ่ง ทุกคนต่างก็ต้องแยกย้ายไปทำหน้าที่ของตัวเอง ดูเอ็มวีนี้แล้วเป็นแรงผลักดันให้ดิฉันยิ่งรักและภาคภูมิใจที่ดิฉันได้เรียนสายอาชีพครู 




 Mareena......





เอ็มวีจาก http://youtu.be/vicJ26PIafQ

รู้เรื่องไข่

วันพฤหัสบดี ที่ 10 ตุลาคม 2556



เรื่องของไข่


             ไข่ ซึ่งจัดได้ว่าเป็นอาหารหลักของคนทุกชนชั้นทุกชาติ จากประโยชน์ที่ไข่มอบให้กับร่างกายของคนเรานั่นเอง และต่อไปนี้คือ ประโยชน์ 10 ประการจากการบริโภคไข่ ซึ่งบางอย่างคุณอาจจะไม่เคยรู้มาก่อน
     1. ไข่เป็นอาหารที่ดีสำหรับดวงตา ผลการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า การรับประทานไข่วันละฟองอาจจะช่วยป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อม ทั้งนี้เนื่องมาจากสารคาโรทีนอยด์ที่อยู่ในไข่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลูทีน (lutein) และซีแซนทีน (zeaxanthin) ซึ่งเป็นสารที่พบบริเวณตา โดยฉาบอยู่บนผิวของเรตินา เพราะร่างกายจะได้รับสารอาหารทั้งสองอย่างนี้โดยตรงจากไข่มากกว่าอาหารชนิดอื่น

     2. ไข่ทำให้เป็นต้อกระจกน้อยลง จากผลการวิจัยอีกชิ้นหนึ่งนักวิจัยยังพบว่า คนที่กินไข่ทุกวันมีความเสี่ยงที่จะเป็นต้อกระจกน้อยลง อันเนื่องมาจากลูทีนและซีแซนทีนในไข่ดังได้กล่าวมาแล้ว

     3. ไข่อุดมไปด้วยโปรตีน โดย 1 ฟองจะมีโปรตีนคุณภาพดี 6 กรัม และกรดอะมิโนสำคัญอีก 9 ชนิด

     4. ผลจากการทำวิจัยโดยมหาวิทยาลัยแพทย์ฮาร์วาร์ดพบว่า ไม่มีความเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างการบริโภคไข่กับการเกิดโรคหัวใจ แถมยังมีผลการวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่พบว่า การบริโภคไข่เป็นประจำยังช่วยป้องกันเลือดจับตัวเป็นก้อน เส้นเลือดอุดตันในสมอง และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

     5. ไข่เป็นแหล่งโคลีนที่ดี โดยโคลีนอยู่ในกลุ่มของวิตามินบี จัดเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยในการควบคุมการทำงานของสมอง ระบบประสาท และระบบไหลเวียนของเลือด โดยไข่ 1 ฟองจะมีโคลีนมากถึง 300 ไมโครกรัม

     6. ไขมันในไข่มีคุณภาพดี ไข่ 1 ฟองมีไขมันอยู่ 5 กรัม และมีเพียง 1.5 กรัมเท่านั้นที่เป็นไขมันชนิดอิ่มตัว

     7. แม้ว่าออกจะขัดแย้งกับความเชื่อเดิมๆ แต่งานวิจัยชิ้นใหม่กลับพบว่า การบริโภคไข่แต่พอสมควรจะไม่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อปริมาณคอเลสเตอรอล มิหนำซ้ำยังมีการศึกษาพบเมื่อเร็วๆ นี้ว่า การบริโภคไข่วันละ 2 ฟองเป็นประจำวันไม่มีผลกระทบต่อระดับไขมันในร่างกาย มิหนำซ้ำอาจจะช่วยทำให้ไขมันดีขึ้น โดยผลการวิจัยกล่าวว่า ไขมันอิ่มตัวจะทำให้ระดับคอเรสเตอรอลเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าคอเลสเตอรอลที่อยู่ในอาหาร 

     8. กินไข่ได้วิตามินดี เพราะไข่เป็นอาหารเพียงชนิดเดียวที่เป็นแหล่งวิตามินดีตามธรรมชาติ

     9. ไข่อาจจะช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม โดยผลการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า ผู้หญิงที่รับประทานไข่ 6 ฟองต่อสัปดาห์ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมลงร้อยละ 44

     10. ไข่ทำให้เส้นผมและเล็บมีสุขภาพดี เพราะว่าไข่มีซัลเฟอร์สูง รวมถึงยังมีวิตามินและแร่ธาตุอีกหลายชนิด หลายคนจึงพบว่าผมยาวเร็วขึ้นหลังจากที่เพิ่มไข่เข้าไปในอาหารที่รับประทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่เคยขาดอาหารที่มีซัลเฟอร์หรือวิตามินบี12 มาก่อน 

การบริโภคไข่ให้เหมาะสม          แม้ว่าไข่จะมีคุณประโยชน์มากมาย แต่หลายคนก็ยังกังวล ฉะนั้นการกินไข่ในปริมาณที่เหมาะสมกับวัย ควบคู่กับการออกกำลังกายเป็นประจำจึงน่าจะเป็นทางเลือกที่ดี โดยคนแต่ละวัยสามารถบริโภคไข่ได้ดังนี้

- เด็กอายุ 1 ปีจนถึงเด็กวัยเรียนสามารถบริโภคไข่ได้วันละ 1 ฟอง
          - ผู้ใหญ่ที่มีภาวะร่างกายปกติสามารถบริโภคไข่ได้ 3-4 ฟองต่อสัปดาห์
          - คนวัยทำงานสุขภาพดี สามารถบริโภคไข่ได้วันละ 1 ฟองทุกวัน ไม่เพิ่มคอเลสเตอรอลและไม่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
          - กลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ หรือโรคที่ต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงสามารถบริโภคไข่เพียง 1 ฟองต่อสัปดาห์ หรือตามคำแนะนำของแพทย์







แหล่งที่มา : http://women.thaiza.com/ประโยชน์-10-ประการของไข่/209488/

รอบรู้ภาวะโลกร้อนกันเถอะ

                                            
วันพฤหัสบด ที่ 10 ตุลาคม 2556



 ปรากฏการณ์เรือนกระจกคืออะไร?
"ปรากฏการณ์เรือนกระจก" (greenhouse effect) คือ ปรากฏการณ์ที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นเนื่องจาก พลังงานแสงอาทิตย์ ์ในช่วงความยาวคลื่นอินฟราเรทที่สะท้อนกลับถูกดูดกลืนโดยโมเลกุลของ ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)  มีเทน (CH4) และ CFCsไนตรัสออกไซด์ (N2O)ในบรรยากาศทำให้โมเลกุลเหล่านี้มีพลังงานสูงขึ้นมีการถ่ายเทพลังงานซึ่งกันและกันทำให้อุณหภูมิในชั้นบรรยากาศสูงขึ้นการถ่ายเทพลังงานและความยาวคลื่นของโมเลกุลเหล่านี้ต่อๆกันไป ในบรรยากาศทำให้โมเลกุลเกิดการสั่นการเคลื่อนไหว ตลอดเวลาและมาชนถูกผิวหนังของเรา ทำให้เรารู้สึกร้อน
เรือนกระจก
ในประเทศในเขตหนาวมีการเพาะปลูกพืชโดยอาศัยการควบคุมอุณหภูมิความร้อนโดยใช้หลักการที่พลังงาน
ความร้อนจากแสงอาทิตย์ส่องผ่านกระจก แต่ความร้อนที่อยู่ภายในเรือนกระจกไม่สามารถสะท้อนกลับออกมา
ทำให้อุณหภุมิภายในสูงขึ้นเหมาะแก่การเพาะปลูกของพืช จึงมีการเปรียบเทียบปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นนี้ว่าภาวะ เรือนกระจก(greenhouse effect)
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นก๊าซที่สะสมพลังงานความร้อนในบรรยากาศโลกไว้มากที่สุดและมีผลทำให้ อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นมากที่สุดในบรรดาก๊าซเรือนกระจกชนิดอื่นๆ CO2ส่วนมากเกิดจากการกระทำของมนุษย์เช่น
- การเผาไหม้เชื้อเพลิง
- การผลิตซีเมนต์
- การเผาไม้ทำลายป่า
ก๊าซที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก
•       คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เกิดจากการเผาไหม้ต่าง ๆ
•       มีเทน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการสลายตัวของอินทรีย์วัตถุ เช่น ขยะมูลฝอยที่ย่อยสลายได้ ของเสีย อุจจาระ
•       CFC เป็นสารประกอบสำหรับทำความเย็น พบในเครื่องทำความเย็นต่างๆ เป็นสิ่งที่อยู่ร่วมกับฟรีออน และยังพบได้ในสเปรย์ต่าง ๆ อีกด้วย
•       Nitrous Oxide (N2O) เป็นก๊าซมีพิษที่เกิดจากเครื่องยนต์ การเผาถ่านหิน และใช้ประกอบในรถยนต์เพื่อเพิ่มกำลังเครื่อง
ก๊าซเหล่านี้เช่น CFC จะทำปฏิกิริยากับรังสีอัลตราไวโอเลตและแตกตัวออกเป็นโมเลกุลคลอลีนและโมเลกุลต่างๆอีกหลายชนิด ซึ่งโมเลกุลเหล่านี้จะเป็นตัวทำลายโมเลกุลของออกซิเจนชนิดพิเศษหรือ O3 บนชั้นบรรยากาศโอโซน ทำให้รังสีอัลตราไวโอเลต และอินฟาเรดส่องผ่านลงมายังพื้นโลกมากขึ้น ในขณะเดียวกันก๊าซเหล่านี้ก็กันรังสีไม่ให้ออกไปจากบรรยากาศโลก ด้วยว่าที่รังสีเหล่านี้เป็นพลังงาน พวกมันจึงทำให้โลกร้อนขึ้น
•       ก๊าซไฮโดรฟลูโรคาร์บอน ( HFCS)
•       ก๊าซเปอร์ฟลูโรคาร์บอน ( CFCS)
•       ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซ่าฟลูโอโรด์ ( SF6 )
ก๊าซเหล่านี้สมควรที่จะต้องลดการปล่อยออกมา  ซึ่งผู้ที่จะลดการปล่อยก๊าซเหล่านี้ได้ก็คือ มนุษย์ทุกคน

ที่มา  http://www.kroobannok.com/2288

วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

คาร์บอนฟุตพริ้นท์

วันพุธ ที่ 9 ตุลาคม 2556

มาทำความเข้าใจคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ( Carbon Footprint )

               คาร์บอนฟุตพริ้นท์ ( Carbon Footprint )หมายถึง ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์หรือบริการ  ครอบคลุมตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง การประกอบชิ้นส่วน การใช้งาน และการจัดการซากผลิตภัณฑ์หลังใช้งาน ซึ่งจะทำให้ทราบว่า กว่าที่จะได้ผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นให้เราได้ใช้ประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการดำรงชีพหรือทำให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้นนั้น ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากน้อยเท่าไร โดยแสดงออกมาในรูปของปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกสำคัญชนิดหนึ่งที่ทำให้โลกร้อนขึ้นหากมีมากเกินกว่าที่ระบบของธรรมชาติจะรักษาสมดุลไว้ได้




ผลิตภัณฑ์ของไทยที่ขึ้นฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์










สิ่งมีชีวิตคืออะไร

วันจันทร์ ที่ 7 ตุลาคม 2556

สรุปบทเรียน

เรื่องสิ่งมีชีวิตคืออะไร






       ชีววิทยาคืออะไร ???

"Biology" หรือ ชีววิทยา เป็นการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตในทุกๆแง่มุม


        สิ่งมีชีวิตคืออะไร ???

        สิ่งมีชีวิตคือ สิ่งที่สามารถใช้สสารและพลังงานจากสิ่งแวดล้อมเพื่อให้กระบวนการภายในดำเนินไปและดำรงอยู่ได้ และเมื่อดำรงอยู่ได้แล้วจะมีกระบวนการให้ดำรงอยู่ต่อไปได้โดยการสร้างสมาชิกที่เหมือนเดิมขึ้นหรือการสืบพันธุ์



        สิ่งมีชีวิตมีคุณสมบัติจำเพาะที่บ่งบอกความแตกต่างของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต

- มีเมแทบอลิซึม
- มีการเจริญเติบโตและมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนา
- มีการสืบพันธุ์
- มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าและมีการปรับตัว
- มีวิวัฒนาการ