หน้าเว็บ

วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

รู้จักกล้องจุลทรรศน์...


วันเสาร์ ที่28 กันยายน 2556


กล้องจุลทรรศน์




1.ลำกล้อง เป็นส่วนที่เชื่อมโยงอยู่ระหว่างเลนส์ใกล้ตากับเลนส์ใกล้วัตถุ มีหน้าที่ป้องกันไม่ให้แสงจาภายนอกรบกวน
2.แขนคือส่วนที่ทำหน้าที่ยึดระหว่างส่วนลำกล้องกับฐาน เป็นตำแหน่งที่จับเวลายกกล้อง
3.แท่นวางวัตถุ เป็นแท่นใช้วางแผ่นสไลด์ที่ต้องการศึกษา
4.ที่หนีบสไลด์ ใช้หนีบสไลด์ให้ติดอยู่กับแท่นวางวัตถุ
5.ฐาน เป็นส่วนที่ใช้ในการตั้งกล้อง ทำหน้าที่รับน้ำหนักตัวกล้องทั้งหมด
6.กระจกเงา ทำหน้าที่สะท้อนแสงจากธรรมชาติหรือแสงจากหลอดไฟภายในห้องให้ส่องผ่านวัตถุ โดยทั่วไปกระจกเงามี 2 ด้าน ด้านหนึ่งเป็นกระจกเงาเว้า อีกด้านเป็นกระจกเงาระนาบ สำหรับกล้องรุ่นใหม่จะใช้หลอดไฟเป็นแหล่งกำเนิดแสง ซึ่งสะดวกและชัดเจนกว่า
7.เลนส์รวมแสง ทำหน้าที่รวมแสงให้เข้มขึ้นเพื่อส่งไปยังวัตถุที่ต้องการศึกษา
8.ไดอะเฟรม อยู่ใต้เลนส์รวมแสง ทำหน้าที่ปรับปริมาณแสงให้เข้าสู่เลนส์ในปริมาณที่ต้องการ
9.ปุ่มปรับภาพหยาบ ทำหน้าที่ปรับภาพโดยเปลี่ยนระยะโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุ(เลื่อนลำกล้องหรือแท่นวางวัตถุขึ้นลง) เพื่อทำให้เห็นภาพชัดเจน
10.ปุ่มปรับภาพละเอียด ทำหน้าที่ปรับภาพ ทำให้ได้ภาพที่ชัดเจนมากขึ้น
11.เลนส์ใกล้วัตถุ จะติดอยู่กับจานหมุน ซึ่งจานหมุนนี้ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนกำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุ ตามปกติเลนส์ใกล้วัตถุมีกำลังขยาย 3-4ระดับ คือ 4x 10x 40x 100x ภาพที่เกิดจากเลนส์ใกล้วัตถุเป็นภาพจริงหัวกลับ
12.เลนส์ใกล้ตา เป็นเลนส์ที่อยู่บนสุดของลำกล้อง โดยทั่วไปมีกำลังขยาย 10x หรือ 15x ทำหน้าที่ขยายภาพที่ได้จากเลนส์ใกล้วัตถุให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดภาพที่ตาผู้ศึกษาสามารถมองเห็นได้ โดยภาพที่ได้เป็นภาพเสมือนหัวกลับ

           วิธีการใช้งาน จะเริ่มด้วยการวางกล้องให้ฐานเท่ากันก่อน
1.หมุนเลนส์ใกล้วัตถุ เลือกกำลังขยาย
2.นำแผ่นสไลด์ที่มีเซลล์อยู่วางบนแท่นวางวัตถุ
3.มองผ่านเลนส์ใกล้ตา
4.ปรับภาพเพื่อให้เห็นภาพชัดๆ
5.ปรับแสงด้วยการหมุนไดอะเฟรม
6.เมื่อทดลองเสร็จเรียบร้อยก็เอาแผ่นสไลด์ออก
7.ปิดกล้องจุลทรรศน์









เนื้อหาส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์คัดลอกจาก  http://archive.wunjun.com/udontham/3/101.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น