หน้าเว็บ

วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

กลไกการรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต

วันอังคาร ที่ 1 ตุลาคม 2556


สรุปบทเรียน

เรื่อง กลไกการรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต

         การรักษาดุลยภาพของน้ำในพืช
- พืชมีการคายน้ำผ่านทางรูปากใบ
- การคายน้ำทำให้พืชมีการสูญเสียน้ำ
- พืชจึงต้องมีวิธีการดูดน้ำจากภายนอกเข้าสู่รากเพื่อชดเชยน้ำที่สูญเสียไป



ภาพแสดงการเปิด-ปิดของปากใบ

                 ความสัมพันธ์ระหว่างการคายน้ำกับการลำเลียงน้ำ
                 พืชสูญเสียน้ำไปโดยการคายน้ำสู่บรรยากาศในรูปของไอน้ำผ่านทางปากใบเป็นส่วนใหญ่และทางผิวใบเพียงเล็กน้อยเพราะมีสารคิวทินเคลือบอยู่เป็นการป้องกันการสูญเสียน้ำ ในบางครั้งที่อากาศมีความชื้นสัมพัทธ์สูง น้ำจะระเหยเป็นไอสู่บรรยากาศได้น้อยลง ทำให้การคายน้ำลดลง แต่แรงดันน้ำในต้นพืชยังสูงอยู่ จึงสามารถพบหยดน้ำที่บริเวณกลุ่มรูเปิดที่ผิวใบซึ่งเรียกว่า ไฮดาโทด มักพบอยู่ใกล้ปลายใบหรือขอบใบตรงตำแหน่งของปลายท่อลำเลียง การคายน้ำในลักษณะนี้เรียกว่า กัตเตชัน ทำให้พืชสามารถดูดน้ำทางรากเข้าไปใช้ได้ พบทั้งในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่ พืชนอกจากจะสูญเสียน้ำโดยการระเหยเป็นไอออกมาทางปากใบแล้วพืชยังสามารถสูญเสียน้ำเป็นไอน้ำออกมาทางเลนทิเซล ซึ่งเป็นรอยแตกที่ผิวของลำต้นได้อีกด้วย

                การปรับตัวให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำในแหล่งที่อยู่
1.พืชแล้งน้ำ(ซีโรไฟต์) เช่น กระบองเพชร เหมาะกับการคายน้ำ
2.พืชน้ำ(ไฮโดรไฟต์) ไม่จำเป็นต้องมีขนราก ใบจะแผ่ใหญ่ๆ
3.พืชปกติต้องการน้ำปานกลาง(มีโซไฟต์) ปรับตัวได้ดีที่สุด
4.พืชในดินเค็ม(ฮาโลไฟต์) เช่น ป่าชายเลน จะมีรากหายใจโดยโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ

               การรักษาสมดุลร่างกายของสิ่งมีชีวิตต่างๆ(ระบบขับถ่าย)
               เช่น ปลาน้ำเค็มจะดื่มน้ำมาก เหงือกกำจัดแร่ธาตุส่วนเกินออก ปัสสาวะน้อยเข้มข้น  ปลาน้ำจืดจะดื่มน้ำน้อย เหงือกดูดเกลือแร่ ปัสสาวะบ่อยเจือจาง ส่วนอะมีบา พารามีเซียม ใช้เยื่อหุ้มเซลล์ในการขับสาร  นกทะเลและเต่าทะเลมีต่อมเหงื่อทำหน้าที่ขับแร่ธาตุส่วนเกินออก

              มนุษย์จะมีไตเป็นอวัยวะขับถ่าย ซึ่งไตเป็นอวัยวะคู่รูปร่างเหมือนเมล็ดถั่ว มีหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือด ช่วยกำจัดสารบางอย่าง
               มนุษย์มีการรักษารักษาดุลยภาพของอุณหภูมิในร่างกายอยู่ระหว่าง 35.8 - 37.7 องศาเซลเซียส


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น