หน้าเว็บ

วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ

วันพุธ ที่ 2 ตุลาคม 2556


สรุปเนื้อหา

ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ

         ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกัน แบ่งเป็น
      + = การได้ประโยชน์
       - = การเสียประโยชน์
       0 = การไม่ได้และไม่เสียประโยชน์

        1.ภาวะปรสิต   (+/-)  เป็นความสัมพันธ์ที่ฝ่ายหนึ่งได้รับผลประโยชน์แต่อีกฝ่ายหนึ่งเสียผลประโยชน์ ฝ่ายที่ได้รับผลประโยชน์ คือ ปรสิต ส่วนฝ่ายที่เสียผลประโยชน์คือผู้ที่ถูกอาศัย เช่น เหาที่อยู่บนศีรษะของคน กาฝากบนต้นมะม่วง

        2.การล่าเหยื่อ  (+/-) เป็นความสัมพันธ์ที่สิ่งมีชีวิตหนึ่งกินสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งเป็นอาหารหรือการล่าเหยื่อ เช่น เสือจับกระต่ายกินเป็นอาหาร ซึ่งความสัมพันธ์นี้จะเกิดขึ้นทุกระบบนิเวศทำให้เกิดการถ่ายทอดพลังงาน

        3.ภาวะอิงกัน/อิงอาศัยหรือภาวะเกื้อกูลกัน (+/0) เป็นความสัมพันธ์ที่ฝ่ายหนึ่งได้รับผลประโยชน์แต่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้รับหรือเสียผลประโยชน์ หรือเรียกว่า ภาวะเกื้อกูล เช่น เหาฉลามที่เกาะตามตัวฉลาม เหาฉลามจะได้รับเศษอาหารจากการกินอาหารของฉลาม

        4.การได้ประโยชน์ร่วมกัน (+/+)เป็นความสัมพันธ์ที่ทั้งสองฝ่ายได้รับผลประโยชน์ แต่ทั้งสองฝ่ายไม่จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์กันเสมอไป เช่น ดอกไม้ทะเลกับปูเสฉวน

        5.ภาวะที่ต้องพึ่งพา (+/+) เป็นความสัมพันธ์ที่ทั้งสองฝ่ายได้รับผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน เช่นสาหร่ายกับราที่อยู่ร่วมกันเป็นไลเคน แบคทีเรียไรโซเบียมกับพืชตระกูลถั่ว

        6.ภาวการณ์ย่อยสลาย (+/0) เช่น แบคทีเรีย เห็ด รา ยีสต์

        7.ภาวะหลั่งสารยับยั้งการเจริญ (0/-)เช่น สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน Microcystis จะหลั่งสาร Hydroxylamine ออกมาในน้ำ ทำให้สัตว์น้ำตาย

        8.ภาวะแข่งขัน(-/-)เช่นบัวกับผักตบชวาในสระน้ำ จอกกับแหนในแหล่งน้ำ

        9.ภาวะเป็นกลาง(0/0) ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตทั้งสองชนิดที่ไม่ได้ประโยชน์หรือไม่เสียประโยชน์ซึ่งกันและกัน เช่น เสือกับหญ้า เกี่ยวข้องกันเพราะสัตว์ที่เป็นอาหารของเสือ เช่น วัวกินหญ้า และเสือกินวัว แต่ไม่กินหญ้า





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น