หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

นิทานชีวิต ตอนกำเนิดชีวิต

วันศุกร์ ที่11 ตุลาคม 2556


นิทานชีวิต ตอนกำเนิดชีวิต












คัดลอกจาก http://youtu.be/QxrCci3-0tg
                    http://youtu.be/MH8DgJ6JsYc
                    http://youtu.be/NSV8s1MwjcM

วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เทคนิคการเรียนดี

วันศุกร์ ที่ 11 ตุลาคม 2556

เทคนิคการเรียนดี

1. อ่านหนังสือตอนเช้าๆ จะช่วยในการจดจำได้เยอะจร้า เพราะว่าตอนเช้าสมองของเราปลอดโปร่ง ถ้าเทียบกับตอนเย็น หรือตอนดึกๆ เนื่องจากสมองของเราผ่านอะไรมามากมายแล้ว สู้รบปรบมือกันมาทั้งวัน
2. รู้มั้ยว่า การยืนอ่านหนังสือ ช่วยในการจดจำมากกว่า การนั่งอ่านหนังสืออีกนะจะบอกให้แล้วอีกอย่างช่วยกันการหลับคาหนังสืออีกด้วย 

3. การจดโน๊ต ให้ดูสะอาดตาสวยงาม จะเป็นสิ่งดีมากๆ เนื่องจากลายมือที่สวยและเป็นระเบียบ จะช่วยในการจดจำได้เป็นอย่างดีเลยหล่ะ ถ้าบอกแบบนี้ เราควรใช้กระดาษสีขาว และปากกาหมึกสีดำ ช่วยให้อักษรมีความชัดเจน และมีพลังเยี่ยมยอดเมื่อบวกกับสีขาวในกระดาษที่เป็นช่องว่างอยู่ การเรียบเรียงตัวอักษร เราควรที่จะจดแบบให้มีการเคลื่อนไหว แทนที่จะจดแบบ
แนวนอน เรียงยาวแบบธรรมดาๆ ก็คือการจดแบบเป็นกลอน แทนที่จะจดให้มันเป็นพรืดยาว จนเอียน การจดแบบนี้ ทำให้เมื่อยสายตา เพราะเราต้องใช้สายตากวาดทอดยาวไป ทำให้เมื่อยล้าสายตาอย่างยิ่ง ทำให้เลิกอ่านกันไปดื้อๆแต่การที่เราจดแบบกลอน มันช่วยให้สายตาของเราไม่ล้า ทำให้เราอ่านหนังสือได้มากขึ้น และจำได้รวดเร็วกว่าเดิม ไม่ต้องมาอ่านซ้ำหลายๆ รอบเหมือนแต่ก่อน


4. การจดอีกแบบนึง ก็คือ การจดแบบ mind mapping การจดแบบนี้ หลายๆ คนคงจะคุ้นเคยกันดี คือ การ มีคีย์เวิร์ดชื่อเรื่องไว้ตรงกลาง แล้วแตกสาขากิ่งก้านหัวข้อย่อยๆ ออกมา ขอย้ำนิดนึงว่า ควรจะใช้คำสั้นๆ ที่สำคัญๆ เพื่อง่ายต่อการจดจำ และไม่น่าเบื่อ

5. การเรียนแบบจับคู่ ควรที่จะมีคู่หู 1 คนในการเรียนเพื่อแชร์ความรู้ที่แต่ละคนได้มา และโต้เถียงความรู้กันอยู่บ่อยๆ ซึ่งวิธีนี้ก็ได้ผลดีเช่นกัน ทำให้การเรียนมีสีสัน และเกิดความตื่นตัวอีกด้วย 

6. การอ่านหนังสือเสียงดัง หรือโยกตัว โยกขา การอ่านแบบมีจังหวะจะโคน ช่วยในการจดจำด้วย เพราะว่าเราได้ใช้ประสาทสัมผัสส่วนต่างๆ

7. อ่าน 1 ชั่วโมงที่รู้สึกว่าตั้งใจ มีความสุข หรือมีพลังในการอ่าน การเรียนรู้ ดีกว่าอ่าน 5 ชั่วโมงที่อ่อนล้าซะอีก แทนที่จะความรู้ แต่กลับไม่ได้อะไรเลย

8. เวลาที่คนเรามีความสุข คลื่นสมองของเราจะเรียนรู้ได้เร็ว และดีกว่าตอนที่เครียด


9. ควรที่จะหมั่นทบทวนในสิ่งต่างๆ บ่อยๆ เพราะการย้ำคิดย้ำทำ หรือการทำซ้ำนั้น ช่วยเราได้มากเลย





ข้อมูลคักลอกมาจาก  http://blog.eduzones.com/chanthaburi/39794

เพลงรางวัลของครู ปี2556


วันศุกร์ ที่ 11 ตุลาคม 2556


MV ใหม่ เพลงรางวัลของครู 


เนื่องในโอกาสวันครู ประจำปี 2556





             ในอนาคตฉันและเพื่อนๆในสาขาวิชาการประถมศึกษา รหัสปี 55 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี อาจจะได้ไปเป็นครูในสถานที่ใดที่หนึ่ง ทุกคนต่างก็ต้องแยกย้ายไปทำหน้าที่ของตัวเอง ดูเอ็มวีนี้แล้วเป็นแรงผลักดันให้ดิฉันยิ่งรักและภาคภูมิใจที่ดิฉันได้เรียนสายอาชีพครู 




 Mareena......





เอ็มวีจาก http://youtu.be/vicJ26PIafQ

รู้เรื่องไข่

วันพฤหัสบดี ที่ 10 ตุลาคม 2556



เรื่องของไข่


             ไข่ ซึ่งจัดได้ว่าเป็นอาหารหลักของคนทุกชนชั้นทุกชาติ จากประโยชน์ที่ไข่มอบให้กับร่างกายของคนเรานั่นเอง และต่อไปนี้คือ ประโยชน์ 10 ประการจากการบริโภคไข่ ซึ่งบางอย่างคุณอาจจะไม่เคยรู้มาก่อน
     1. ไข่เป็นอาหารที่ดีสำหรับดวงตา ผลการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า การรับประทานไข่วันละฟองอาจจะช่วยป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อม ทั้งนี้เนื่องมาจากสารคาโรทีนอยด์ที่อยู่ในไข่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลูทีน (lutein) และซีแซนทีน (zeaxanthin) ซึ่งเป็นสารที่พบบริเวณตา โดยฉาบอยู่บนผิวของเรตินา เพราะร่างกายจะได้รับสารอาหารทั้งสองอย่างนี้โดยตรงจากไข่มากกว่าอาหารชนิดอื่น

     2. ไข่ทำให้เป็นต้อกระจกน้อยลง จากผลการวิจัยอีกชิ้นหนึ่งนักวิจัยยังพบว่า คนที่กินไข่ทุกวันมีความเสี่ยงที่จะเป็นต้อกระจกน้อยลง อันเนื่องมาจากลูทีนและซีแซนทีนในไข่ดังได้กล่าวมาแล้ว

     3. ไข่อุดมไปด้วยโปรตีน โดย 1 ฟองจะมีโปรตีนคุณภาพดี 6 กรัม และกรดอะมิโนสำคัญอีก 9 ชนิด

     4. ผลจากการทำวิจัยโดยมหาวิทยาลัยแพทย์ฮาร์วาร์ดพบว่า ไม่มีความเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างการบริโภคไข่กับการเกิดโรคหัวใจ แถมยังมีผลการวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่พบว่า การบริโภคไข่เป็นประจำยังช่วยป้องกันเลือดจับตัวเป็นก้อน เส้นเลือดอุดตันในสมอง และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

     5. ไข่เป็นแหล่งโคลีนที่ดี โดยโคลีนอยู่ในกลุ่มของวิตามินบี จัดเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยในการควบคุมการทำงานของสมอง ระบบประสาท และระบบไหลเวียนของเลือด โดยไข่ 1 ฟองจะมีโคลีนมากถึง 300 ไมโครกรัม

     6. ไขมันในไข่มีคุณภาพดี ไข่ 1 ฟองมีไขมันอยู่ 5 กรัม และมีเพียง 1.5 กรัมเท่านั้นที่เป็นไขมันชนิดอิ่มตัว

     7. แม้ว่าออกจะขัดแย้งกับความเชื่อเดิมๆ แต่งานวิจัยชิ้นใหม่กลับพบว่า การบริโภคไข่แต่พอสมควรจะไม่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อปริมาณคอเลสเตอรอล มิหนำซ้ำยังมีการศึกษาพบเมื่อเร็วๆ นี้ว่า การบริโภคไข่วันละ 2 ฟองเป็นประจำวันไม่มีผลกระทบต่อระดับไขมันในร่างกาย มิหนำซ้ำอาจจะช่วยทำให้ไขมันดีขึ้น โดยผลการวิจัยกล่าวว่า ไขมันอิ่มตัวจะทำให้ระดับคอเรสเตอรอลเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าคอเลสเตอรอลที่อยู่ในอาหาร 

     8. กินไข่ได้วิตามินดี เพราะไข่เป็นอาหารเพียงชนิดเดียวที่เป็นแหล่งวิตามินดีตามธรรมชาติ

     9. ไข่อาจจะช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม โดยผลการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า ผู้หญิงที่รับประทานไข่ 6 ฟองต่อสัปดาห์ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมลงร้อยละ 44

     10. ไข่ทำให้เส้นผมและเล็บมีสุขภาพดี เพราะว่าไข่มีซัลเฟอร์สูง รวมถึงยังมีวิตามินและแร่ธาตุอีกหลายชนิด หลายคนจึงพบว่าผมยาวเร็วขึ้นหลังจากที่เพิ่มไข่เข้าไปในอาหารที่รับประทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่เคยขาดอาหารที่มีซัลเฟอร์หรือวิตามินบี12 มาก่อน 

การบริโภคไข่ให้เหมาะสม          แม้ว่าไข่จะมีคุณประโยชน์มากมาย แต่หลายคนก็ยังกังวล ฉะนั้นการกินไข่ในปริมาณที่เหมาะสมกับวัย ควบคู่กับการออกกำลังกายเป็นประจำจึงน่าจะเป็นทางเลือกที่ดี โดยคนแต่ละวัยสามารถบริโภคไข่ได้ดังนี้

- เด็กอายุ 1 ปีจนถึงเด็กวัยเรียนสามารถบริโภคไข่ได้วันละ 1 ฟอง
          - ผู้ใหญ่ที่มีภาวะร่างกายปกติสามารถบริโภคไข่ได้ 3-4 ฟองต่อสัปดาห์
          - คนวัยทำงานสุขภาพดี สามารถบริโภคไข่ได้วันละ 1 ฟองทุกวัน ไม่เพิ่มคอเลสเตอรอลและไม่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
          - กลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ หรือโรคที่ต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงสามารถบริโภคไข่เพียง 1 ฟองต่อสัปดาห์ หรือตามคำแนะนำของแพทย์







แหล่งที่มา : http://women.thaiza.com/ประโยชน์-10-ประการของไข่/209488/

รอบรู้ภาวะโลกร้อนกันเถอะ

                                            
วันพฤหัสบด ที่ 10 ตุลาคม 2556



 ปรากฏการณ์เรือนกระจกคืออะไร?
"ปรากฏการณ์เรือนกระจก" (greenhouse effect) คือ ปรากฏการณ์ที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นเนื่องจาก พลังงานแสงอาทิตย์ ์ในช่วงความยาวคลื่นอินฟราเรทที่สะท้อนกลับถูกดูดกลืนโดยโมเลกุลของ ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)  มีเทน (CH4) และ CFCsไนตรัสออกไซด์ (N2O)ในบรรยากาศทำให้โมเลกุลเหล่านี้มีพลังงานสูงขึ้นมีการถ่ายเทพลังงานซึ่งกันและกันทำให้อุณหภูมิในชั้นบรรยากาศสูงขึ้นการถ่ายเทพลังงานและความยาวคลื่นของโมเลกุลเหล่านี้ต่อๆกันไป ในบรรยากาศทำให้โมเลกุลเกิดการสั่นการเคลื่อนไหว ตลอดเวลาและมาชนถูกผิวหนังของเรา ทำให้เรารู้สึกร้อน
เรือนกระจก
ในประเทศในเขตหนาวมีการเพาะปลูกพืชโดยอาศัยการควบคุมอุณหภูมิความร้อนโดยใช้หลักการที่พลังงาน
ความร้อนจากแสงอาทิตย์ส่องผ่านกระจก แต่ความร้อนที่อยู่ภายในเรือนกระจกไม่สามารถสะท้อนกลับออกมา
ทำให้อุณหภุมิภายในสูงขึ้นเหมาะแก่การเพาะปลูกของพืช จึงมีการเปรียบเทียบปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นนี้ว่าภาวะ เรือนกระจก(greenhouse effect)
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นก๊าซที่สะสมพลังงานความร้อนในบรรยากาศโลกไว้มากที่สุดและมีผลทำให้ อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นมากที่สุดในบรรดาก๊าซเรือนกระจกชนิดอื่นๆ CO2ส่วนมากเกิดจากการกระทำของมนุษย์เช่น
- การเผาไหม้เชื้อเพลิง
- การผลิตซีเมนต์
- การเผาไม้ทำลายป่า
ก๊าซที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก
•       คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เกิดจากการเผาไหม้ต่าง ๆ
•       มีเทน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการสลายตัวของอินทรีย์วัตถุ เช่น ขยะมูลฝอยที่ย่อยสลายได้ ของเสีย อุจจาระ
•       CFC เป็นสารประกอบสำหรับทำความเย็น พบในเครื่องทำความเย็นต่างๆ เป็นสิ่งที่อยู่ร่วมกับฟรีออน และยังพบได้ในสเปรย์ต่าง ๆ อีกด้วย
•       Nitrous Oxide (N2O) เป็นก๊าซมีพิษที่เกิดจากเครื่องยนต์ การเผาถ่านหิน และใช้ประกอบในรถยนต์เพื่อเพิ่มกำลังเครื่อง
ก๊าซเหล่านี้เช่น CFC จะทำปฏิกิริยากับรังสีอัลตราไวโอเลตและแตกตัวออกเป็นโมเลกุลคลอลีนและโมเลกุลต่างๆอีกหลายชนิด ซึ่งโมเลกุลเหล่านี้จะเป็นตัวทำลายโมเลกุลของออกซิเจนชนิดพิเศษหรือ O3 บนชั้นบรรยากาศโอโซน ทำให้รังสีอัลตราไวโอเลต และอินฟาเรดส่องผ่านลงมายังพื้นโลกมากขึ้น ในขณะเดียวกันก๊าซเหล่านี้ก็กันรังสีไม่ให้ออกไปจากบรรยากาศโลก ด้วยว่าที่รังสีเหล่านี้เป็นพลังงาน พวกมันจึงทำให้โลกร้อนขึ้น
•       ก๊าซไฮโดรฟลูโรคาร์บอน ( HFCS)
•       ก๊าซเปอร์ฟลูโรคาร์บอน ( CFCS)
•       ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซ่าฟลูโอโรด์ ( SF6 )
ก๊าซเหล่านี้สมควรที่จะต้องลดการปล่อยออกมา  ซึ่งผู้ที่จะลดการปล่อยก๊าซเหล่านี้ได้ก็คือ มนุษย์ทุกคน

ที่มา  http://www.kroobannok.com/2288

วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

คาร์บอนฟุตพริ้นท์

วันพุธ ที่ 9 ตุลาคม 2556

มาทำความเข้าใจคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ( Carbon Footprint )

               คาร์บอนฟุตพริ้นท์ ( Carbon Footprint )หมายถึง ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์หรือบริการ  ครอบคลุมตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง การประกอบชิ้นส่วน การใช้งาน และการจัดการซากผลิตภัณฑ์หลังใช้งาน ซึ่งจะทำให้ทราบว่า กว่าที่จะได้ผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นให้เราได้ใช้ประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการดำรงชีพหรือทำให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้นนั้น ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากน้อยเท่าไร โดยแสดงออกมาในรูปของปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกสำคัญชนิดหนึ่งที่ทำให้โลกร้อนขึ้นหากมีมากเกินกว่าที่ระบบของธรรมชาติจะรักษาสมดุลไว้ได้




ผลิตภัณฑ์ของไทยที่ขึ้นฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์










สิ่งมีชีวิตคืออะไร

วันจันทร์ ที่ 7 ตุลาคม 2556

สรุปบทเรียน

เรื่องสิ่งมีชีวิตคืออะไร






       ชีววิทยาคืออะไร ???

"Biology" หรือ ชีววิทยา เป็นการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตในทุกๆแง่มุม


        สิ่งมีชีวิตคืออะไร ???

        สิ่งมีชีวิตคือ สิ่งที่สามารถใช้สสารและพลังงานจากสิ่งแวดล้อมเพื่อให้กระบวนการภายในดำเนินไปและดำรงอยู่ได้ และเมื่อดำรงอยู่ได้แล้วจะมีกระบวนการให้ดำรงอยู่ต่อไปได้โดยการสร้างสมาชิกที่เหมือนเดิมขึ้นหรือการสืบพันธุ์



        สิ่งมีชีวิตมีคุณสมบัติจำเพาะที่บ่งบอกความแตกต่างของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต

- มีเมแทบอลิซึม
- มีการเจริญเติบโตและมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนา
- มีการสืบพันธุ์
- มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าและมีการปรับตัว
- มีวิวัฒนาการ




การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส

วันจันทร์ ที่ 7 ตุลาคม 2556

สรุปบทเรียนการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส



           
      เป็นกระบวนการแบ่งนิวเคลียสเพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ซึ่งจะมีการ
แบ่ง 2 ครั้งต่อเนื่องกัน โดยมีการจำลองตัวเพิ่มจำนวน DNA เพียงครั้งเดียว ผลของการแบ่งเซลล์แบบนี้จะได้เซลล์ใหม่ 4 เซลล์ที่มีจำนวนโครโมโซมเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของเซลล์เริ่มต้น 
มี 2 ขั้นตอน คือ ไมโอซิส I แล ไมโอซิส II
             
               1.ไมโอซิส I 
 - ระยะโพรเฟส I แบ่งเป็นระยะย่อยคือ
      1.เลปดตทีน โครโมโซมพันกันมาก ทำให้มองเป็นจุดสีดำ เรียกว่า โครโมเมียร์
      2.ไซโกทีน โครโมโซมจับคู่แนบชิดกัน เรียกว่า Synapsis
      3.แพคีทีน จะเห็นโครโมโซมเป็น TETRAD
      4.ดิโพทีน โครโมโซมแยกออกจากกันไม่สมบูรณ์ มีบางส่วนที่ติดกันอยู่เรียกว่า Chiasma และมีการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนของโครดมดซม เรียกว่า Crossing Over
      5.ไดอะไคเนซิส โครโมโซมหดสั้น
 - ระยะเมตาเฟส I เห็นโครโมโซมชัดขึ้น โฮโมโลกัสโครโมโซมเรียงตัวอยู่กลางเซลล์
 - ระยะแอนาเฟส I แต่ละคู่ของไบวาเลนต์ถูกดึงแยกออกจากกัน
 - ระยะทีโลเฟส โครโมโซมถึงขั้วเซลล์ นิวคลีโอลัสและเยื่อหุ้มนิวเคลียสเกิดขึ้น ทำให้โครโมโซมเห็นเป็น n
              
              2.ไมโอซิส II
- ระยะอินเตอร์เฟส II ระยะนี้ไม่มีการจำลอง DNA
- ระยะโพรเฟส II โครโมโซมหดสั้น นิวคลีโอลัสและเยื่อหุ้มนิวเคลียสสลายไป ไมโตติด สปินเดิลเกิด
- ระยะเมตาเฟส II โครโมโซมจะมาเรียงตัวกันอยู่ที่แนวกึ่งกลางเซลล์
- ระยะแอนาเฟส II โครมาติดแยกตัวออกจากกันไปยังขั้วตรงข้ามของเซลล์
- ระยะทีโลเฟส II เกิดนิวเคลียสใหม่ 4 นิวเคลียสและแบ่งไซโตพลาสซึม







การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส

วันจันทร์ ที่ 7 ตุลาคม 2556

สรุปบทเรียนการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส





           เป็นกระบวนการแบ่งนิวเคลียสเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ร่างกายหรือเซลล์สืบพันธุ์ก็ได้ ผลจากการแบ่งจะได้เซลล์ลูก 2 เซลล์ที่มีจำนวนโครโมโซมเท่าเดิม เซลลืที่ได้จะเหมือนเดิมทุกประการ
ประกอบด้วย 2 ระยะ คือ

           1.ระยะอินเตอร์เฟส เป็นระยะเตรียมตัว ที่จะแบ่งเซลล์ในวัฏจักรของเซลล์ 
แบ่งออกเป็น 3ระยะย่อย
- ระยะ G1 เป็นระยะก่อนการสร้าง DNA  สร้างสารเพื่อใช้สร้าง DNA
- ระยะ S เป็นระยะสังเคราะห์และสร้าง DNA
- ระยะ G3 เปํ็นระยะหลังสร้าง DNA พร้อมแบ่งโครโมโซมและไซโทพลาสซึม
ระยะอินเตอร์เฟสโครโมโซมจะเห็นไม่ชัด จำลองตัวเอง
       
          2.ระยะ M เป็นระยะที่มีการแบ่งนิวเคลียสและแบ่งไซโทพลาสซึม ซึ่งโครโมโซมจะมีการเปลี่ยนแปลงหลายขั้นตอน ก่อนที่จะถูกแบ่งแยกออกจากกัน ประกอบด้วย 4 ระยะย่อย
- ระยะโพรเฟส โครโมโซมเห็นชัด เยื่อหุ้มนิวเคลียสและนิวคลีโอลัสหายไป
- ระยะเมตาเฟส โครโมโซมมาเรียงตรงกลางเซลล์
- ระยะแอนาเฟส โครโมโซมแยกไปคนละข้างของเซลล์
- ระยะเทโลเฟส นิวเคลียสแยกเป็น 2 อัน






พันธุกรรม

วันเสาร์ ที่ 5 ตุลาคม 2556


สรุปบทเรียน

พันธุกรรม

          พันธุกรรม หมายถึง ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลาน ซึ่งเป็นลักษณะที่ถูกควบคุมด้วยหน่วยพันธุกรรมหรือยีน

          - บนโครโมโซมมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ ยีน โดยจะอยู่กันเป็นคู่ๆ บนโครโมโซม ซึ่งอยู่ภายในนิวเคลียสของเซลล์แต่ละเซลล์

          - ภายในยีนมีสารเคมีชนิดหนึ่ง คือ DNA  หรือสารพันธุกรรม ทำหน้าที่กำหนดกิจกรรมต่างๆภายในเซลล์ โดยควบคุมการสังเคราะห์โปรตีนชนิดต่างๆ เช่นเอนไซม์ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ฮอร์โมนบางชนิด
     
           โครโมโซมในเซลล์ของร่างกายมนุษย์มี 46 แท่ง นำมาจัดได้ 23 คู่ แบ่งออกได 2 ชนิด คือ
1. ออโตโซม คือ โครโมโซมคู่ที่ 1 - 22 เหมือนกันทั้งเพศชายและเพศหญิง
2.โครโมโซมเพศ คือ โครโมโซมคู่ที่ 23
                            
                             หญิง   คือ  XX
                             ชาย    คือ  XY

สรุป โครโมโซมเพศชายจะเป็น 44 + XY   ส่วนเพศหญิงจะเป็น  44 + XX

       โรคทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดทางโครโมโซมเพศ
- ตาบอดสี
- ฮีโมฟีเลีย
- ธาลัสซีเมีย
- โลหิตจางจากเม็ดเลือดรูปเคียว
- ผิวเผือก
- มิวเทชัน


       ยีนประกอบด้วยแอลลีลที่ควบคุมลักษณะ 2 แบบ คือ
1. แอลลีลเด่น คือ แอลลีลที่สามารถแสดงลักษณะนั้นๆ ออกมาได้แม้จะมีเพียงแอลลีลเดียว
2.แอลลีลด้อย คือ แอลลีลที่แสดงลักษณะออกมาได้เมื่อมีแอลลีลด้อยทั้งจากพ่อและแม่มาเข้าคู่กัน











ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ

วันพุธ ที่ 2 ตุลาคม 2556


สรุปเนื้อหา

ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ

         ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกัน แบ่งเป็น
      + = การได้ประโยชน์
       - = การเสียประโยชน์
       0 = การไม่ได้และไม่เสียประโยชน์

        1.ภาวะปรสิต   (+/-)  เป็นความสัมพันธ์ที่ฝ่ายหนึ่งได้รับผลประโยชน์แต่อีกฝ่ายหนึ่งเสียผลประโยชน์ ฝ่ายที่ได้รับผลประโยชน์ คือ ปรสิต ส่วนฝ่ายที่เสียผลประโยชน์คือผู้ที่ถูกอาศัย เช่น เหาที่อยู่บนศีรษะของคน กาฝากบนต้นมะม่วง

        2.การล่าเหยื่อ  (+/-) เป็นความสัมพันธ์ที่สิ่งมีชีวิตหนึ่งกินสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งเป็นอาหารหรือการล่าเหยื่อ เช่น เสือจับกระต่ายกินเป็นอาหาร ซึ่งความสัมพันธ์นี้จะเกิดขึ้นทุกระบบนิเวศทำให้เกิดการถ่ายทอดพลังงาน

        3.ภาวะอิงกัน/อิงอาศัยหรือภาวะเกื้อกูลกัน (+/0) เป็นความสัมพันธ์ที่ฝ่ายหนึ่งได้รับผลประโยชน์แต่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้รับหรือเสียผลประโยชน์ หรือเรียกว่า ภาวะเกื้อกูล เช่น เหาฉลามที่เกาะตามตัวฉลาม เหาฉลามจะได้รับเศษอาหารจากการกินอาหารของฉลาม

        4.การได้ประโยชน์ร่วมกัน (+/+)เป็นความสัมพันธ์ที่ทั้งสองฝ่ายได้รับผลประโยชน์ แต่ทั้งสองฝ่ายไม่จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์กันเสมอไป เช่น ดอกไม้ทะเลกับปูเสฉวน

        5.ภาวะที่ต้องพึ่งพา (+/+) เป็นความสัมพันธ์ที่ทั้งสองฝ่ายได้รับผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน เช่นสาหร่ายกับราที่อยู่ร่วมกันเป็นไลเคน แบคทีเรียไรโซเบียมกับพืชตระกูลถั่ว

        6.ภาวการณ์ย่อยสลาย (+/0) เช่น แบคทีเรีย เห็ด รา ยีสต์

        7.ภาวะหลั่งสารยับยั้งการเจริญ (0/-)เช่น สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน Microcystis จะหลั่งสาร Hydroxylamine ออกมาในน้ำ ทำให้สัตว์น้ำตาย

        8.ภาวะแข่งขัน(-/-)เช่นบัวกับผักตบชวาในสระน้ำ จอกกับแหนในแหล่งน้ำ

        9.ภาวะเป็นกลาง(0/0) ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตทั้งสองชนิดที่ไม่ได้ประโยชน์หรือไม่เสียประโยชน์ซึ่งกันและกัน เช่น เสือกับหญ้า เกี่ยวข้องกันเพราะสัตว์ที่เป็นอาหารของเสือ เช่น วัวกินหญ้า และเสือกินวัว แต่ไม่กินหญ้า





ระบบนิเวศ

วันพุธ ที่ 2 ตุลาคม 2556

สรุปบทเรียนเรื่องระบบนิเวศ

       ระบบนิเวศเป็นหน่วยที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เพราะประกอบไปด้วยสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด มีการแลกเปลี่ยนสสาร แร่ธาตุ และพลังงานกับสิ่งแวดล้อม โดยผ่านห่วงโซ่อาหาร

       องค์ประกอบของระบบนิเวศที่มีชีวิต
        1.ผู้ผลิต ได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเอง ส่วนมากเป็นพืชที่มีคลอโรฟิลล์
        2.ผู้บริโภค ได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่กินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็น      อาหาร
        3.ผู้ย่อยสลายซาก ได้แก่ สิ่งมีชีวิตขนาดเล้กที่สร้างอาหารเองไม่ได้ เช่น แบคทีเรีย เหฌฃ็ด ราและแอกทีโนมัยซีท ทำหน้าที่ย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้วให้กลายเป็นสารอาหาร เพื่อให้ผู้ผลิตนำไปใช้ได้ใหม่อีก
  

 ตัวอย่างห่วงโซ่อาหาร







ตัวอย่างสายใยอาหาร



         


กลไกการรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต

วันอังคาร ที่ 1 ตุลาคม 2556


สรุปบทเรียน

เรื่อง กลไกการรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต

         การรักษาดุลยภาพของน้ำในพืช
- พืชมีการคายน้ำผ่านทางรูปากใบ
- การคายน้ำทำให้พืชมีการสูญเสียน้ำ
- พืชจึงต้องมีวิธีการดูดน้ำจากภายนอกเข้าสู่รากเพื่อชดเชยน้ำที่สูญเสียไป



ภาพแสดงการเปิด-ปิดของปากใบ

                 ความสัมพันธ์ระหว่างการคายน้ำกับการลำเลียงน้ำ
                 พืชสูญเสียน้ำไปโดยการคายน้ำสู่บรรยากาศในรูปของไอน้ำผ่านทางปากใบเป็นส่วนใหญ่และทางผิวใบเพียงเล็กน้อยเพราะมีสารคิวทินเคลือบอยู่เป็นการป้องกันการสูญเสียน้ำ ในบางครั้งที่อากาศมีความชื้นสัมพัทธ์สูง น้ำจะระเหยเป็นไอสู่บรรยากาศได้น้อยลง ทำให้การคายน้ำลดลง แต่แรงดันน้ำในต้นพืชยังสูงอยู่ จึงสามารถพบหยดน้ำที่บริเวณกลุ่มรูเปิดที่ผิวใบซึ่งเรียกว่า ไฮดาโทด มักพบอยู่ใกล้ปลายใบหรือขอบใบตรงตำแหน่งของปลายท่อลำเลียง การคายน้ำในลักษณะนี้เรียกว่า กัตเตชัน ทำให้พืชสามารถดูดน้ำทางรากเข้าไปใช้ได้ พบทั้งในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่ พืชนอกจากจะสูญเสียน้ำโดยการระเหยเป็นไอออกมาทางปากใบแล้วพืชยังสามารถสูญเสียน้ำเป็นไอน้ำออกมาทางเลนทิเซล ซึ่งเป็นรอยแตกที่ผิวของลำต้นได้อีกด้วย

                การปรับตัวให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำในแหล่งที่อยู่
1.พืชแล้งน้ำ(ซีโรไฟต์) เช่น กระบองเพชร เหมาะกับการคายน้ำ
2.พืชน้ำ(ไฮโดรไฟต์) ไม่จำเป็นต้องมีขนราก ใบจะแผ่ใหญ่ๆ
3.พืชปกติต้องการน้ำปานกลาง(มีโซไฟต์) ปรับตัวได้ดีที่สุด
4.พืชในดินเค็ม(ฮาโลไฟต์) เช่น ป่าชายเลน จะมีรากหายใจโดยโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ

               การรักษาสมดุลร่างกายของสิ่งมีชีวิตต่างๆ(ระบบขับถ่าย)
               เช่น ปลาน้ำเค็มจะดื่มน้ำมาก เหงือกกำจัดแร่ธาตุส่วนเกินออก ปัสสาวะน้อยเข้มข้น  ปลาน้ำจืดจะดื่มน้ำน้อย เหงือกดูดเกลือแร่ ปัสสาวะบ่อยเจือจาง ส่วนอะมีบา พารามีเซียม ใช้เยื่อหุ้มเซลล์ในการขับสาร  นกทะเลและเต่าทะเลมีต่อมเหงื่อทำหน้าที่ขับแร่ธาตุส่วนเกินออก

              มนุษย์จะมีไตเป็นอวัยวะขับถ่าย ซึ่งไตเป็นอวัยวะคู่รูปร่างเหมือนเมล็ดถั่ว มีหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือด ช่วยกำจัดสารบางอย่าง
               มนุษย์มีการรักษารักษาดุลยภาพของอุณหภูมิในร่างกายอยู่ระหว่าง 35.8 - 37.7 องศาเซลเซียส


อาณาจักรฟังไจ

วันอังคาร ที่ 1 ตุลาคม 2556


สรุปบทเรียนหัวข้อที่นำเสนอ 

  "อาณาจักรฟังไจ"





                   เป็นสิ่งมีชีวิตพวกยูคาริโอตที่ไม่มีคลอโรฟิลค์ สร้างอาหารเองไม่ได้จัดเป็นเฮเทอโรโทฟ ซึ่งต้องการสารอินทรีย์เป็นอาหาร ส่วนใหญ่ดำรงชีวิตเป็นแซโพรไฟต์ ย่อยสลายสารอินทรีย์ที่เน่าเปื่อยให้เป็นสารโมเลกุลเล็กลง มีความสำคัญในอุตสาหกรรมการหมัก เช่น การทำเบียร์ ไวน์ การทำสารปฏิชีวนะ เป็นต้น บางพวกทำให้เกิดโรคกับพืช สัตว์และคน

                   อาณาจักรฟังไจแบ่งเป็น

1. Phylum Chytridiomycota ได้แก่ Pythium spp. ก่อให้เกิดโรคเน่าในต้นกล้าของพืชหลายชนิด เป็นต้น
2. Phylum Zygomycota ได้แก่ ราดำ .เช่น Rhizopus nigricans ผลิตกรดฟูมาริก Rhizopus oryzae ใช้ในการทำข้าวหมาก แอลกอฮอล์และสุราจากข้าว เป็นต้น
3. Phylum Ascomycota ได้แก่ ยีสต์ ราสีเหลือง ผลิตสารอัลฟาทอกซิล ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งตับ ราสีแดง เป็นต้น
4.Phylum Basidiomycota ได้แก่ เห็ดชนิดต่างๆ เช่น เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดหอม เห็ดหลินจือ ใช้เป็นยารักษาโรค Puccinia graminis ก่อให้เกิดโรคราสนิมและเขม่าดำ ซึ่งเป็นโรคระบาดแก่ธัญพืชที่รุนแรงมาก บางชนิดเป็นเห็ดมีพิษ เช่น Amanita muscaria ผลิตสารพิษพวกมัสคารีนและอะโทรพีน ซึ่งจะไปรบกวนการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ เป็นต้น





การเคลื่อนที่ของสารผ่านเซลล์

วันอาทิตย์ ที่ 29 กันยายน 2556

สรุปบทเรียนเรื่อง

การเคลื่อนที่ของสารผ่านเซลล์

       กลไกการลำเลียงสารต่างๆผ่านเยื่อหุ้มเซลล์มี2 แบบ คือ การลำเลียงสารแบบไม่ใช้พลังงานกับการลำเลียงแบบใช้พลังงาน

      การลำเลียงสารแบบไม่ใช้พลังงาน ประกอบด้วย
1.การแพร่ เป็นการเคลื่อนที่กระจัดกระจายของโมเลกุลของสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นของโมเลกุลของสารมากกว่าไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นของโมเลกุลของสารน้อยกว่า เมื่ออยู่ในสภาพสมดุลจึงหยุดแพร่ โดยการแพร่มีปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความดันความเข้มข้นของสารที่แพร่ อุณหภูมิ สถานะของสารที่แพร่ เป็นต้น

2.การออสโมซิส เป็นการแพร่ของเหลวจากบริเวณที่มีความหนาแน่นมากไปยังบริเวณที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า
สารละลายที่เกี่ยวข้องกับการออสโมซิส มี 3 ชนิด คือ
- สารละลายไฉเปอร์โทนิก
- สารละลายไฮโปโทนิก
- สารละลายไฮโซโทนิก

3.การแพร่แบบฟาซิลิเทต เป็นการเคลื่อนที่ของโมเลกุลของสารที่มีความเข้มข้นสูงไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นต่ำ โดยอาศัยโปรตีนเป็นตัวนำ

       กลไกการลำเลียงสารโดยไม่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์
1.เอกโซไทโทซิส เป็นการลำเลียงสารขนาดใหญ่ออกจากเซลล์ โดยสารที่จะถูกส่งไปนอกเซลล์บรรจุอยู่ในเวสสิเคิล

2.เอนโดไซโทซิส เป็นการลำเลียงสารขนาดใหญ่เข้าสู่เซลล์







เซลล์พืช เซลล์สัตว์

วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน 2556

สรุปบทเรียน
                                           

ภาพเซลล์พืช เซลล์สัตว์




เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
               เซลล์พืช
1.เซลล์พืชมีรูปร่างเป็นเหลี่ยม
2.มีผนังเซลล์อยู่ด้านนอก
3.มีคลอโรพลาสต์ภายในเซลล์
4.ไม่มีเซนทริโอล
5.แวคิวโอลมีขนาดใหญ่มองเห็นได้ชัดเจน
6.ไม่มีไลโซโซม

              เซลล์สัตว์
1.เซลล์สัตว์มีรูปร่างกลมหรือรี
2.ไม่มีผนังเซลล์แต่มีสารเคลือบเซลล์อยู่ด้านนอก
3.ไม่มีคลอโรพลาสต์
4.มีเซนทริโอลใช้ในการแบ่งเซลล์
5.แวคิวโอลมีขนาดเล็กมองเห็นได้ไม่ชัดเจน
6.มีไลโซโซม

รู้จักกล้องจุลทรรศน์...


วันเสาร์ ที่28 กันยายน 2556


กล้องจุลทรรศน์




1.ลำกล้อง เป็นส่วนที่เชื่อมโยงอยู่ระหว่างเลนส์ใกล้ตากับเลนส์ใกล้วัตถุ มีหน้าที่ป้องกันไม่ให้แสงจาภายนอกรบกวน
2.แขนคือส่วนที่ทำหน้าที่ยึดระหว่างส่วนลำกล้องกับฐาน เป็นตำแหน่งที่จับเวลายกกล้อง
3.แท่นวางวัตถุ เป็นแท่นใช้วางแผ่นสไลด์ที่ต้องการศึกษา
4.ที่หนีบสไลด์ ใช้หนีบสไลด์ให้ติดอยู่กับแท่นวางวัตถุ
5.ฐาน เป็นส่วนที่ใช้ในการตั้งกล้อง ทำหน้าที่รับน้ำหนักตัวกล้องทั้งหมด
6.กระจกเงา ทำหน้าที่สะท้อนแสงจากธรรมชาติหรือแสงจากหลอดไฟภายในห้องให้ส่องผ่านวัตถุ โดยทั่วไปกระจกเงามี 2 ด้าน ด้านหนึ่งเป็นกระจกเงาเว้า อีกด้านเป็นกระจกเงาระนาบ สำหรับกล้องรุ่นใหม่จะใช้หลอดไฟเป็นแหล่งกำเนิดแสง ซึ่งสะดวกและชัดเจนกว่า
7.เลนส์รวมแสง ทำหน้าที่รวมแสงให้เข้มขึ้นเพื่อส่งไปยังวัตถุที่ต้องการศึกษา
8.ไดอะเฟรม อยู่ใต้เลนส์รวมแสง ทำหน้าที่ปรับปริมาณแสงให้เข้าสู่เลนส์ในปริมาณที่ต้องการ
9.ปุ่มปรับภาพหยาบ ทำหน้าที่ปรับภาพโดยเปลี่ยนระยะโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุ(เลื่อนลำกล้องหรือแท่นวางวัตถุขึ้นลง) เพื่อทำให้เห็นภาพชัดเจน
10.ปุ่มปรับภาพละเอียด ทำหน้าที่ปรับภาพ ทำให้ได้ภาพที่ชัดเจนมากขึ้น
11.เลนส์ใกล้วัตถุ จะติดอยู่กับจานหมุน ซึ่งจานหมุนนี้ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนกำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุ ตามปกติเลนส์ใกล้วัตถุมีกำลังขยาย 3-4ระดับ คือ 4x 10x 40x 100x ภาพที่เกิดจากเลนส์ใกล้วัตถุเป็นภาพจริงหัวกลับ
12.เลนส์ใกล้ตา เป็นเลนส์ที่อยู่บนสุดของลำกล้อง โดยทั่วไปมีกำลังขยาย 10x หรือ 15x ทำหน้าที่ขยายภาพที่ได้จากเลนส์ใกล้วัตถุให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดภาพที่ตาผู้ศึกษาสามารถมองเห็นได้ โดยภาพที่ได้เป็นภาพเสมือนหัวกลับ

           วิธีการใช้งาน จะเริ่มด้วยการวางกล้องให้ฐานเท่ากันก่อน
1.หมุนเลนส์ใกล้วัตถุ เลือกกำลังขยาย
2.นำแผ่นสไลด์ที่มีเซลล์อยู่วางบนแท่นวางวัตถุ
3.มองผ่านเลนส์ใกล้ตา
4.ปรับภาพเพื่อให้เห็นภาพชัดๆ
5.ปรับแสงด้วยการหมุนไดอะเฟรม
6.เมื่อทดลองเสร็จเรียบร้อยก็เอาแผ่นสไลด์ออก
7.ปิดกล้องจุลทรรศน์









เนื้อหาส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์คัดลอกจาก  http://archive.wunjun.com/udontham/3/101.html

วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สรุปบทเรียน lab

 เรียนเมื่อวันศุกร์ ที่ 14 มิถุนายน 2556




                                 กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
                                        วิธีการทางวิทยาศาสตร์
                                        ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร
                                        เจตคติทางวิทยาศาสตร์


        ชีววิทยา (Bilogy) เป็นวิชาที่กล่าวถึงเรื่องราวต่างๆของสิ่งมีชีวิต อันเป็นวิชาแขนงหนึ่ง
ของวิทยาศาสตร์

         Scientific Method

             1.การสังเกต
             2.การตั้งปัญหา
             3.การรวบรวมข้อมูล
             4.การตั้งสมมุติฐาน
             5.การทดสอบสมมุติฐาน
             6.การสรุปผล

วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สรุปบทเรียนของครูน่าค่ะ...


วันจันทร์ ที่ 10 มิถุนายน 2556



                                     

เด็กคืออนาคตของชาติ 

 ข้อคิดดีๆที่จากการเรียน
      ครูไม่สามารถสอนเด็กได้หมด แต่สอนให้เด็กเรียนรู้ รู้จักการเอาตัวรอดได้และพวกเขาต้องเรียนรู้

เพื่อจะเปลี่ยนแปลง 

         ที่สำคัญ ครูที่จะสอนเด็กได้ดี คือ ครูที่มองข้ามทุกอย่างได้หมด เข้าใจบริบทของทุกคน


      "การเปลี่ยนแปลงบางอย่างก็เจ็บปวด แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดี" เหมือนดังนกอินทรีย์ที่ยอม

เจ็บปวด  อดทน  เพื่อมีชีวิตรอดและมีชีวิตอยู่ต่อได้อีกหลายปี


       การให้ความรู้กับลูกศิษย์ การจุดประกายให้ลูกศิษย์เป็นคนที่มีไฟที่จะต่อสู้ในชีวิตนั้น  จะเป็นหัวใจ

สำคัญของความสำเร็จของลูกศิษย์ในอนาคต

       ขอฝากไว้นิดนึงนะคะ.....

                          เรียนครูแล้ว เราก็จะต้องเป็นทั้ง “อาชีพครู” และ “ครูอาชีพ” นะคะ


                                    

วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สวัสดีค่ะ






   ชื่อ นางสาวมารีณา  โต๊ะมอง

   ชื่อเล่น  น่า

  กำลังศึกษา สาขาวิชาการประถมศึกษา     

                      คณะศึกษาศาสตร์

ลืมตาดูโลก  7 มกราคม 2536

กรุ๊ปเลือด  B

ที่อยู่  27 หมู่ที่ 4  ตำบลทุ่งนุ้ย  อำเภอควนกาหลง   จังหวัดสตูล 91130

จบจาก โรงเรียนควนโดนวิทยา จังหวัดสตูล

คติประจำใจ   ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น
e-mail mareena_27@hotmail.co.th
facebook   Mareena Tohmong
สีที่ชอบ  สีชมพู  สีเหลือง  สีขาว

สถานที่ที่ชอบ  ทะเล  เกาะต่างๆ
ตุ๊กตาที่ชอบ  ตุ๊กตาหมี       
เป็นคนมีนิสัยร่าเริง ดูภายนอกอาจจะเรียบร้อย พูดไม่เยอะ แต่ถ้าสนิทกับใครก็จะพูดเยอะ

เป็นกันเองกับทุกคน